วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทฤษฎีระบบ System Theory


นำเสนอ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
โดย รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์  D.B.A.06

ทฤษฎีระบบ System Theory 
ประวัติความเป็นมาและความหมาย
        แนวคิดและทฤษฎีระบบ เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ปี 1920 1940 บรรดานักวิทยาศาสตร์ สังเกตุเห็นเหตุการณ์ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลกนี้เกิดขึ้นอย่างมีความซับซ้อนเป็นไปในลักษณะเดียวกันคล้ายกัน ซึ่งเรียกว่า ความเป็นระบบ  จนกระทั่งเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1930 Ludving Von Bertalanffy ค้นพบ ทฤษฎีระบบทั่วไป (General Systems Theory) และนำเสนอมุมมองระบบแบบองค์รวม ในปี ค.ศ.1956

            ทฤษฎีระบบ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ บนโลกนี้มีลักษณะเป็นระบบ ต้องมีองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ได้กำหนดไว้ โดยระบบจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดงนี้
            ระบบปิด  (Closed System) เป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่สัมพันธ์กับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคม สามารถควบคุมได้ เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะต้องอยู่ในกระบวนการที่ถูกควบคุม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ถูกต้อง
            ระบบเปิด (Open System) เป็น ระบบที่ต้องปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งต่าง ๆ ทั้ง บุคคล องค์การ หรือหน่วยงาน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มีการเอื้อประโยชน์ พึ่งพาซึ่งกันและกัน  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลหรือมีอิทธิพลต่อการทำงานขององค์การด้วย ไม่สามารถควบคุม (ประชุม รอดประเสริฐ (2543, หน้า 67) วิโรจน์ สารรัตนะ (2545, หน้า 24-25) French and Bell (1990, pp. 53-54) Robbins et al. (2006, p. 55) Kinichi and Kreitner (2003, p. 307)

            องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 7 ประการ ได้แก่
1.      วัตถุประสงค์ (goals)
2.      ปัจจัยนำเข้า (inputs)
3.      กระบวนการ (processes)
4.      ผลลัพธ์ (outputs)
5.      การส่งข้อมูลป้อนกลับ (feedback)
6.      การควบคุม (control)
7.      สิ่งแวดล้อม (environments)


          ทั้งนี้ผู้ที่ศึกษาทฤษฎีระบบ มีหลักการจดจำ ซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบหลักได้ 3 ส่วนใหญ่         
           สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ หรือองค์ประกอบแรกนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ  โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของระบบนั้น ๆ  ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่     นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น
             
กระบวนการ (Process) คือองค์ประกอบต่อมาของระบบ หมายถึง วิธีการ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
           
ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ  หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอัตถภาพ เป็นต้น
            โดยองค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้
ผสมผสานอย่างมีเอกภาพเพื่อบรรลุตามเป้าหมายองค์การ

การนำไปประยุกต์ใช้
  การดำเนินงานใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นอย่างมีระบบ เราจะเห็นถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม องค์กรแห่งหนึ่งจัดกิจกรรมการแถลงข่าว เริ่มต้นด้วยการวางแผนงานในด้านต่าง  ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การจัดทำแผนงาน, รูปแบบการดำเนินงาน, งบประมาณ , ทีมงาน, พันธมิตร ฯลฯ ในกรอบเวลาที่กำหนด เมื่อเข้าสู้การดำเนินงานปฏิบัติ จนงานเสร็จสิ้นกระบวนการ  ต้องประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งในรูปตัวเงิน การสนับสนุนจากสปอนเซอร์ หรือพันธมิตร อาทิ สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ของพรีเมื่ยมในการทำกิจกรรม คน หรือองค์กรที่มีส่วนร่วม สื่อแขนงต่าง ๆ ที่เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรม ฯลฯ ตลอดจน การประเมินผลจาก Feedback ในการปฏิบัติงานในลักษณะ 360 องศา ปัญหา และอุปสรรค รวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงการวางแผน การปฏิบัติในครั้งต่อไป
ขอบคุณที่มาและแหล่งข้อมูล
1. www.hrd.nida.ac.th/fileupload/paper/.../present%20system%20theory.ppt
3. http://www.kamsondeedee.com/school/chapter-002/51-2008-12-13-14-44-22/109--system-theory
4. http://www.ex-mba.buu.ac.th/Research%202556/Research_Bangsaen/PM-11/53710715/05_ch24.pdf
5. Managing conflict through communication 2007 Dudley D. Cahn, Ruth Anna Abigail
6.http://writer.dek-d.com/plugna99/story/viewlongc.php?id=675528&chapter=50

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น