วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทฤษฎีพฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร โดย รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต D.B.A.06,SPU เสนอ รศ.ดร.วิชิต อู่อ้น


ความหมาย พฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร

      ตลาดอุตสาหกรรม หรือตลาดผู้ผลิต หรือตลาดธุรกิจประกอบด้วยกลุ่มบุคคล และองค์การและองค์กรซึ่งมีความต้องการสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการในการนําเสนอขายหรือเพื่อให้บริการต่อไป ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ ในตลาดผู้ผลิตเรียกว่า ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม (Industrial Users) ซึ่งหมายถึงองค์การที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนําไปใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ หรือใช้ในธุรกิจของตนเอง 

       การจัดซื้อองค์การคือการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรภายนอกขององค์กร ซึ่งได้แก่ สินค้า งานบริการ นำเข้ามาผ่านการจัดซื้อ  โดยฝ่ายจัดซื้อขององค์กร ต้องมีความสามารถ (Capabilities) และความรู้(Knowledge) เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงาน เพื่อ ธำรงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าที่องค์กรกำหนดไว้  เพื่อใช้ในการบริหารจัดการในกิจกรรมหลัก (Primary Activities) คือ Supply Cain ประกอบด้วย Inbound logistic (Input) Operation (Process) Outbound logistic(Output) Marketing Services และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถนำออกขายแล้วมีกำไร
        
        ต้นแบบทฤษฎีและแนวคิดพฤติกรรมการการจัดซื้อ ที่ถูกกล่าวอ้างถึงบ่อยคือ  Sheetal Sheth (ปี 1973)


       กิจกรรมของผู้จัดซื้อควรยึดหลัก 5 R’s  ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาภายใต้แนวความคิดของความถูกต้อง เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย  การเลือกสถานที่ที่เหมาะสม Right Place เลือกสินค้าให้ได้ คุณสมบัติที่ถูกต้อง Right Quality เลือกซื้อจากแหล่งที่ถูกต้อง Right Source ในราคาที่ถูกต้อง Right Price และตรงต่อความต้องการของลูกค้า Right What  เพื่อสามารถวัดผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           กระบวนการตัดสินใจขององค์การ มาจากการกำหนดความต้องการของสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อโดยต้องคำนึงถึงความคาดหวัง ของกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดซื้อ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และมีความสามารถในการระบุ ประเมิน เลือกตรายี่ห้อและผู้ขายรายต่างๆ

          การซื้อขององค์การมีข้อที่ควรพิจารณาคือ 
(1) องค์การไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคหรืออรรถประโยชน์ส่วนบุคคล แต่ต้องการสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการผลิต การขายต่อหรือการให้บริการต่อไป
(2) บุคคลหลายคนเกี่ยวข้องกับการซื้อขององค์การ โดยเฉพาะรายการสินค้าที่สำคัญๆ ผู้ตัดสินใจโดยทั่วไปจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในองค์การและการตัดสินใจซื้อ
(3) องค์การจะกำหนดนโยบาย เงื่อนไข และความต้องการเอาไว้ ซึ่งผู้ซื้อขายขององค์การจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับสิ่งที่องค์การกำหนดเอาไว้  
(4) เงื่อนไข ข้อเสนอ และสัญญาซื้อขายจะต้องมีขึ้นในการซื้อขององค์การ
         ดังนั้จะเห็นว่าเรื่องของการจัดซื้อจะนำเรื่องของ Logistic เข้ามาบริหารจัดการร่วมกันและทำงานในลักษณะส่งเสริมกัน

องค์ประกอบ

1. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม คือ แรงผลักดันภายนอกที่เป็นแรงผลักดันเหล่านี้สร้างความไม่แน่นอนอย่างมากให้แก่องค์การ และความไม่แน่นอนสามารถทำให้บุคคลในศูนย์กลางการจัดซื้อเป็นกังวลเกี่ยวกับการซื้อบางประเภท การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อมเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง ก่อให้เกิดโอกาสหรืออุปสรรคในการซื้อครั้งใหม่ 
2. ปัจจัยด้านองค์การ มีอิทธิพลต่อกระบวนการซื้อขององค์การเกี่ยวกับวัตถุประสงค์นโยบายการจัดซื้อ ทรัพยากร รวมถึงขนาดและองค์ประกอบของศูนย์กลางการจัดซื้อ องค์การอาจมีนโยบายการซื้อที่สมาชิกในศูนย์กลางการจัดซื้อจะต้องปฏิบัติตาม 
3. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในศูนย์กลางการจัดซื้อ การใช้อำนาจและระดับของความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในศูนย์กลางการจัดซื้อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การ 
4. ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ลักษณะของบุคคลในศูนย์กลางการจัดซื้อ (บทบาทสถนาภาพในองค์กร, อายุ, เพศ, และพื้นฐานส่วนตัวในด้านต่าง  ๆ ที่มีอิทธิพลต่อตัวบุคคล) ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์การซื้อ ประเภทของสินค้าที่ซื้อ และขึ้นอยู่กับประเภทของการซื้อว่าเป็นแบบการจัดซื้อซ้ำแบบตรง การซื้อซ้ำแบบงานประจำ หรือการซื้อแบบงานใหม่ รูปแบบการเจรจาต่อรองของบุคคลจะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ ดังนั้น เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักการตลาดต้องรู้จักลูกค้าดีพอที่จะรู้ถึงปัจจัยส่วนบุคคลเหล่านี้และผลกระทบที่อาจมีต่อกระบวนการซื้อ

การประยุกต์ใช้

       หากองค์กร ได้แก่ตัวผู้บริหาร, พนักงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดซื้อ เข้าใจ เรื่องพฤติกรรมการจัดซื้อในเรื่องปัจจัยและบริบทรอบข้องที่เป็นองค์ประกอบ จะสามารถกำหนดแผนงานการบริหารจัดการการจัดซื้อ เกิดรูปแบบการจัดซื้อได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภค และสามารถดำเนินการได้ถูกต้องแม่นยำชัดเจน ลดต้นทุนเพิ่มผลกำไรและเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด โดยสามารถควบคุมและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขในส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 


แหล่งที่มาข้อมูล
    จากการสรุปของเพื่อนนักศึกษาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต ม.ศรีปทุม และค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น